ในปัจจุบันประเทศไทยมีอาชีพและแหล่งงานที่หลากหลาย เพื่อรองรับประชากรภายในประเทศให้มีรายได้ในการเลี้ยงดูตนเองและคนในครอบครัว แต่ก็มีคนไทยจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วยเหตุผลที่มากมาย และจำนวนรายได้ที่มากกว่า เพื่อหวังสร้างรากฐานและความมั่นคงในชีวิต
หลายคนสงสัยว่าคนไทยที่ทำงานอยู่ต่างประเทศสามารถกู้ซื้อบ้านในเมืองไทยได้หรือไม่ ? คำตอบก็คือสามารถกู้ซื้อได้ค่ะ แต่สิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้ก็คือเทคนิคเบื้องต้นในการขอยื่นกู้ กับทางธนาคารที่ประเทศไทยเสียก่อน วันนี้ทางทีมงานบ้านดีได้ทำการรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนการเตรียมตัว ซึ่งจะมีกระบวนการและ วิธีการอย่างไรบ้างตามมาชมกันเลยค่ะ (5 สิ่งควรทำ “เตรียมตัวกู้ซื้อบ้าน”)

วิธีที่ 1 สำรวจสถานที่ทำงานของตนเอง

สิ่งที่ต้องรู้เป็นอันดับแรกก็คือสถานที่ ที่ทำงานอยู่เป็นอย่างไร ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่เพราะเนื่องจากชาวไทยบางส่วนยังนิยมไปทำงานในต่างประเทศอย่างผิดกฎหมาย ทำให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อเคร่งครัดกับเอกสารหรือหลักฐานเป็นอย่างมาก แต่ถ้าหากคุณทำงานอยู่ต่างประเทศ และมีโอกาสไปทำงานในบริษัทไทยที่มีสาขาในประเทศนั้นๆ คุณก็สามารถยื่นกู้ได้ปกติ แต่ถ้ารายได้หลักของคุณมาจากการทำงานในองค์กร, ร้านอาหาร หรือสำนักงานของต่างประเทศ การพิจารณารายได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อจะถูกลดลงครึ่งหนึ่ง แต่สิ่งที่ทีมงานบ้านดีอยากแนะนำก็คือ เมื่อคุณไปทำงานที่ต่างประเทศให้เปิดบัญชีที่ไทยไว้และโอนเงินเข้าบัญชีทุกเดือนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ก็จะทำให้ธนาคารอนุมัติวงเงินกู้ได้ง่ายยิ่งขึ้นเพราะอย่างน้อยก็ยังมีการทำธุรกรรมที่ประเทศไทยอยู่บ้าง ลำดับต่อมาต้องทราบฐานเงินเดือน และอายุการทำงานของตัวคุณเองเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ธนาคาร

วิธีที่ 2 หาข้อมูลสถาบันการเงินที่ออกสินเชื่อกู้ซื้อบ้านเพื่อคนไทยที่ทำงานต่างประเทศ

ปัจจุบันมีสถาบันการเงินหลากหลายสถาบัน ได้สนับสนุนคนไทยที่ทำงานในต่างประเทศให้สามารถซื้อบ้านได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องเปรียบเทียบวงเงินกู้อัตราดอกเบี้ยระยะเวลาผ่อนชำระ ของแต่ละธนาคารเพื่อพิจารณาเลือกหาข้อเสนอที่ดีที่สุดให้กับตัวคุณ

ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ได้เปิดโอกาสให้คนไทยที่ทำงานในต่างประเทศได้มีที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยเป็นของตัวเองภายใต้โครงการ บ้านพร้อมสินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศผู้ที่สนใจและต้องการยื่นเรื่องขอสินเชื่อดังกล่าวสามารถติดต่อขอคำปรึกษาและยื่นขอสินเชื่อผ่านทางบริษัท ซัน แอสเซท จำกัด ได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยฝากเบอร์โทรและอีเมล์ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ หรือโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ในวันจันทร์-ศุกร์  ตั้งแต่เวลา 9.00-18.00 น. (ของประเทศไทย)

*61-2-8520-3543 (ออสเตรเลีย)
*49-322-2109-2650 (เยอรมนี)
*64-4-831-8682 (นิวซีแลนด์)
*41-31-528-0721 (สวิตเซอร์แลนด์)
*44-20-3608-5175 (อังกฤษ)
*81-3-4520-8130 (ญี่ปุ่น)
*1-323-244-2337 (สหรัฐอเมริกา)
*66-2-231-6799 (ไทย)
*อ้างอิงจาก www.amazingthaiproperty.com

วิธีที่ 3 หลักฐานเอกสารยืนยันรายได้

การที่ธนาคารจะปล่อยสินเชื่อเพื่อการกู้ซื้อบ้านให้กับเรานั้น ถือว่าธนาคารต้องแบกรับความเสี่ยงเป็นอย่างมาก เพราะมีจำนวนเงินค่อนข้างสูง ดังนั้นธนาคารและเจ้าหน้าที่สินเชื่อจึงค่อนข้างละเอียดรอบคอบและรัดกุม ในเรื่องของเอกสารเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องสร้างความเชื่อมั่นความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่ด้วยการรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นสัญญาการทำงาน, หนังสือรับรองการทำงาน, การเสียภาษี รวมถึงหลักฐานการโอนเงินทั้งหมด และถ้าหากคุณมีทรัพย์สินที่ต่างประเทศเช่นบ้านหรือรถยนต์ให้นำเอกสารการซื้อขาย มาใช้เป็นเอกสารสำคัญในการพิจารณาขอกู้ซื้อบ้านในประเทศไทย (กู้ซื้อบ้านต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง)

-เอกสารที่สำคัญในการประกอบการยื่นกู้พื้นฐานมีดังต่อไปนี้

(เอกสารประจำตัว)
– บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
– ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาทุกหน้า
– สำเนาทะเบียนสมรส, ทะเบียนหย่า, ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
(อาชีพประจำ)
– หนังสือรับรองเงินเดือน / สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
– บัญชีเงินฝากธนาคารย้อนหลัง (Statement) 6 เดือน
(อาชีพอิสระ)
– ทะเบียนการค้า, หนังสือจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
– หลักฐานการเสียภาษีใบเสร็จซื้อ-ขายสินค้า
– ภาพถ่ายกิจการ 4-5 ภาพ
– บัญชีเงินฝากธนาคารย้อนหลัง (Statement) 12 เดือน
– สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
– หลักฐานการแสดงฐานะทางการเงินอื่น ๆ (ถ้ามี)
จะเห็นได้ว่าคนไทยที่ทำงานในต่างประเทศก็สามารถซื้อบ้านที่เมืองไทยได้แต่อาจจะมีกระบวนการที่ซับซ้อนบ้างแต่หากได้มาซึ่งที่อยู่อาศัยในแผ่นดินเกิดเพื่อรองรับการพักผ่อนในบั้นปลายชีวิต หรือแม้แต่เป็นที่อยู่อาศัยของคนที่คุณรักก็ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากทีเดียว

ขอบคุณเนื้อหา คลังบ้าน (www.klungbaan.com)