
ช่วงนี้คงไม่มีเรื่องไหนทำให้อลหม่านกันไปทั้งโลกเท่ากับเรื่อง COVID-19 อีกแล้ว ถึงกับมีหลายคนพูดว่าโอกาสติด
1 % แต่โอกาสที่โรคประสาทจะถามหาน่ะ 100% แต่จะไม่ให้เครียดได้อย่างไรเพราะรู้หรือไม่ว่าการจามหรือไอเพียง
ครั้งเดียวสามารถแพร่กระจายไวรัสได้ถึง 3,000 จุด และยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นถ้าอยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อในระยะใกล้
กว่า 1.8 เมตร หรือประมาณ 6 ฟุต ทำให้โอกาสที่จะติดก็ไม่ยากนัก ดังนั้นทั้งตัวบุคคลเองและสถานที่ส่วนใหญ่จึง
หันมาเอาจริงเอาจังกับการทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน เพราะโอกาสที่จะไปสัมผัสเชื้อโรคเข้ามาจะเกิดขึ้นเมื่อ
ไหร่ก็ได้ วันนี้เรามีวิธีทำความสะอาดบ้านให้ปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันเจ้าโควิดและโรคติดต่ออื่นๆ มาฝากกัน บ้านเรา
จะได้สะอาด ปราศจากเชื้อ อย่างน้อยก็สร้างความสบายใจและความมั่นใจได้อีกระดับหนึ่ง
การทำความสะอาดกับการฆ่าเชื้อโรคต่างกันอย่างไร?
จริงๆ ทั้งสองคำนี้มีความใกล้เคียงกันแต่ต่างกันอยู่บ้าง การทำความสะอาดคือการขจัด การเช็ดถูสิ่งแปลกปลอม
สิ่งสกปรกทั้งหลาย เช่น ฝุ่น เชื้อโรคออกจากพื้นผิวต่างๆ ในขณะที่การฆ่าเชื้อโรคคือการใช้สารเคมีในการฆ่าเชื้อ
โรคบนพื้นผิว การทำความสะอาดก่อนช่วยอย่างมากในการทำให้สารเคมีฆ่าเชื้อโรคทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ไวรัสโควิด 19 จะมีชีวิตอยู่ในบ้านเราได้กี่วัน?
จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการยืนยันได้ว่าไวรัสโควิดจะมีชีวิตบนพื้นผิวต่างๆ ได้นานแค่ไหน อาจจะเป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมง
จนถึงมีชีวิตอยู่เป็นวัน ระยะเวลาขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ความชื้นและประเภทผิวสัมผัสที่ไวรัสเกาะอยู่ด้วย
พื้นผิวส่วนไหนในบ้านที่มีโอกาสสูงที่จะมีไวรัสเกาะติดอยู่?
จริงๆ เป็นสิ่งที่ระบุได้ยากมาก เพราะถ้ามีคนที่ป่วยสักคนไอ จามโดยไม่ใส่หน้ากากหรือปิดปาก เชื้อโรคสามารถไป
เกาะตามพื้นที่ใกล้เคียงได้หมด และที่สำคัญคือมือของเราเองที่มีส่วนสำคัญในการนำเชื้อโรคจากที่หนึ่งไปอีกที่
หนึ่ง ดังนั้นพื้นผิวหรืออุปกรณ์ที่ถูกสัมผัสบ่อยครั้งมีโอกาสสูงมากขึ้นในการมีเชื้อโรคแฝงอยู่ อุปกรณ์ที่ถูกจับ
บ่อยๆ เช่น รีโมทคอนโทรล มือเปิดปิดตู้เย็น ที่จับประตู ก๊อกน้ำ สวิทช์ไฟต่างๆ อุปกรณ์ในครัว โต๊ เก้าอี้ หรือแม้
กระทั่งโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตก็มีโอกาสสูงที่จะมีไวรัสแอบแฝงตัวอยู่

แล้วควรใช้อะไรในการทำความสะอาดและควรทำอย่างไร?
จริงๆ แล้วโควิดมีโครงสร้างที่เปราะบาง ความร้อนหรือสารเคมีทั่วไปในการทำความสะอาด เช่น ผงซักฟอก สบู่
น้ำยาล้างจาน น้ำยาฟอกขาว (bleach) หรือที่คนไทยมักเรียกติดปากว่าไฮเตอร์ก็สามารถฆ่าไวรัสได้แล้วโดยการ
ใช้บรีช ให้ผสม 1/3 ถ้วย ต่อน้ำ 1 แกลลอน ทุกครั้งที่ทำความสะอาดควรใส่ถุงมือที่ใช้แล้วทิ้ง หลังจากนั้นเพื่อความ
สบายใจหลังการทำความสะอาดสามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อตามได้อีก
พื้นผิวที่มีไวรัสเกาะติดแล้วต้องทำอย่างไร?
สำหรับพื้นผิวที่มีการปนเปื้อนหรือคาดว่าจะมีไวรัสเกาะติดแล้ว สามารถใช้อุปกรณ์และสารทำความสะอาดบ้าน
ทั่วไปที่กล่าวข้างต้น โดยใช้กระดาษทิชชู ผ้าถูพื้น หรือผ้าทำความสะอาดแบบเปียกที่ใช้แล้วทิ้ง ทำความสะอาดก็
สามารถฆ่าไวรัสได้แล้ว ถ้าใช้ผ้าถูพื้นต้องซักผ้าผืนนั้นทันทีหลังการทำความสะอาด น้ำยาซักผ้าทั่วไปก็สามารถฆ่า
ไวรัสได้ แต่ข้อควรระวังคือล้างมือให้สะอาดทั้งทุกครั้งด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดทุกครั้งหลังจาก
ถอดถุงมือ และระวังอย่าให้มือสัมผัสดวงตา จมูก และปาก เพราะระหว่างการทำความสะอาดคุณอาจจะเคลื่อน
ไวรัสจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งได้ ดังนั้นควรทำความสะอาดทีละด้านเป็นรูปตัวเอส (S) สามารถช่วยลดการกระ
จายเชื้อโรคระหว่างการทำความสะอาดได้
จานชาม มีด อุปกรณ์เครื่องครัวควรทำอย่างไร?
ถ้าเป็นไปได้ล้างด้วยน้ำร้อนกับน้ำยาล้างจานปกติก็เพียงพอ ยิ่งถ้าบ้านไหนใช้เครื่องล้างจานจะดีมากเพราะปกติเครื่องล้างจานจะใช้น้ำร้อนและมีการอบจานชามด้วยความร้อนอยู่แล้ว

เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ชุดเครื่องนอนควรทำอย่างไร?
สำหรับผ้าที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ ถ้าใช้เครื่อง
ซักผ้าให้ตั้งค่าเป็นน้ำร้อนและต้องตากหรืออบให้แห้ง
สนิท ข้อควรระวังคืออย่าสะบัดผ้าก่อนซักเพราะอาจ
กระจายเชื้อจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งได้ และอย่าลืม
ล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสผ้าเหล่านั้น

การป้องกันเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
พื้นผิวสัมผัสต่างๆ มีส่วนสำคัญมากในการกระจายไวรัส ดังนั้นการป้องกันไม่ให้พื้นผิวต่างๆ มีไวรัสเกาะติดตั้งแต่
แรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด คือใส่หน้ากากเพื่อป้องการแพร่กระจายเมื่อมีการไอ จาม หรือใช้ทิชชูปิดปาก ถ้าไม่มีจริงๆ ให้
จามที่ข้อศอก และล้างมือทันทีหลังการไอ จาม หรือถึงแม้ไม่มีอาการไอ จามต้องหมั่นล้างมือให้บ่อยที่สุด ข้อแนะนำ
ในการล้างมือฟอกสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือถ้าใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือต้องมีความเข้มข้นไม่ต่ำกว่า 70%
โดยควรล้างมือก่อนและหลังการทำสิ่งเหล่านี้
-
หลังการสั่งน้ำมูก ไอ จาม
-
หลังใช้ห้องน้ำ
-
หลังจากเล่นกับสัตว์เลี้ยง
-
ก่อนทำอาหาร
-
ก่อนรับประทานอาหาร
-
ก่อนดูแลผู้อื่น เช่น เด็กหรือผู้สูงอายุ