เหตุผลที่ทำให้ขอสินเชื่อบ้านไม่ผ่าน คือ มีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี  มีเงื่อนไขไม่ตรงตามที่สถาบันการเงินกำหนดไว้ หรือที่เรียกกันติดปากว่า การติดแบล็คลิส

รู้หรือไม่??  ว่าการกู้ร่วมกับการค้ำประกันแตกต่างกันจนคุณคาดไม่ถึงเลยทีเดียว หากคุณเผลอไปเซ็นต์สัญญาหนึ่งฉบับ

 โดยหากรู้ไม่ว่าสิ่งที่ตามมาคืออะไรนั้น  วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจว่า กู้ร่วม กับ ค้ำประกัน แตกต่างกันตรงไหน ควรหรือไม่กับการ

ผูกมัดตัวเองกับการเป็นหนี้ครั้งนี้ของบุคคลที่เรารู้จัก

การกู้ร่วม คือ การเป็นหนี้ร่วมกัน มีหน้าที่รับผิดชอบในการชำระและมีโอกาสที่จะมีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สินเหนือจากเป็นผู้รับ

ผิดชอบร่วมกันในการก่อสร้างหนี้ครั้งนี้

การค้ำประกัน คือ การนำบุคคลมาเป็นหลักประกันสินเชื่อให้กับผู้ขอสินเชื่อ โดยจะเป็นผู้ ที่คอยรับผิดชอบเมื่อผู้ขอกู้เกิดการผิด

สัญญา ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด สถาบันการเงินจะสามารถให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชอบ

เพราะการค้ำประกัน คือการทำสัญญาว่าจะ ชำระหนี้แทน หากลูกหนี้ผิดสัญญา

คุณสมบัติของผู้กู้ร่วม จะต้องเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ในครอบครัวเดียวกัน เช่น พ่อ แม่ ลูก พี่น้องร่วมสายเลือด และสามี

ภรรยา ในกรรณีสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสนั้น ต้องหาหลักฐานการแต่งงานมายืนยันได้

คุณสมบัติของผู้ค้ำประกัน จะเป็นใครก็ได้ทั้งเครือญาติ หรือแค่คนรู้จัก เพื่อนสนิท หรือผู้ใหญ่ในทางการงาน ที่มีประวัติเครดิตที่

ดีหรือมีฐานรายรับที่มั่นคง

ควรที่จะมีผู้กู้ร่วมหรือไม่  สถาบันการเงินจะนำรายได้และภาระหนี้ของผู้กู้ร่วมมาพิจารณาเพื่ออนุมัติสินเชื่อรวมถึงเรื่องของ

วงเงินด้วย  ซึ่งแน่นอนหากผู้กู้ร่วมของเราเป็นผู้ที่มีประวัติดี รายได้มั่นคง จะสามารถให้การอนุมัติขอสินเชื่อของเรามีโอกาสผ่าน

มากขึ้น

ควรที่จะมีผู้ค้ำประกันหรือไม่ บุคคลที่จำเป็นจะต้องมีผู้ค้ำประกันนั้นจะเป็นบุคคลที่ประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี ไม่เคยมีประวัติด้าน

การขอสินเชื่อ อายุไม่ถึงเกณฑ์ หรือเป็นผู้ที่คุณสมบัติไม่ตรงตามหลักเกณฑ์การขอสินเชื่อซึ่งทำให้การขอสินเชื่อเป็นไปได้ยาก

จึงต้องควรมีผู้ค้ำประกันเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์การขอสินเชื่อ

ความเสี่ยงของผู้กู้ร่วม  เมื่อเราตกลงเป็นผู้กู้ร่วมกันแล้วภาระหนี้ก็จะเท่าเทียมกัน เมื่อผู้กู้หลักผิดสัญญาในการชำระหนี้ การรับ

ผิดชอบจะตกเป็นของผู้กู้ร่วมโดยทั้งหมด ซึ่งสถาบันการเงินสามารถฟ้องร้องกับผู้กู้ได้ทั้ง

ความเสี่ยงของผู้ค้ำประกัน  หากไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรทำสัญญาค้ำประกัน เพราะเนื่องจากจะไม่มีส่วนได้กับการขอสินเชื่อนั้น

แล้ว จะเป็นส่วนเสียมากกว่าหากเจ้าหนี้เบี้ยวนัดชำระ จะต้องเป็นผู้ค้ำที่ต้องมานั่งชำระหนี้แทน

อย่างไรก็ตามการร่วมหรือการมีผู้ค้ำประกัน เป็นการโอกาสที่จะช่วยเพิ่มการอนุมัติการขอสินเชื่อ  แต่การเป็นผู้กู้ร่วมหรือการ

เป็นผู้ค้ำประกันนั้นเป็นการเสี่ยง เมื่อผู้กู้หลักเกิดปัญหาในการชำระหนี้ ผู้กู้ร่วมและผู้ค้ำประกันต่างต้องรับผิดชอบในการชำระหนี้

โดยไม่สวามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นก่อนจะเซ็นต์สัญญายื่นกู้กับใครนั้นควรตัดสินใจให้ดีก่อน เพราะหนี้ที่เราจะต้องแบกรับโดย

ไม่ได้เป็นผู้ก่อนนั้นมันคุ้มหรือไม่??