นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า การจัดเก็บภาษีที่ดินตามกฎหมาย

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะถูกเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิมที่จะต้องเริ่มเก็บในเดือนเม.ย. 2563 เป็นเดือนส.ค. 2563 เนื่อง

จาก กระบวนการสำรวจและประเมินทรัพย์สินทั้งที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่างๆขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

ในบางส่วนยังไม่พร้อม ดังนั้น กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแล อปท.ทั่วประเทศ จึงขอให้เลื่อนระยะเวลาการ

จัดเก็บภาษีดังกล่าวออกไป

“เราไม่ได้เลื่อนการบังคับใช้กฎหมาย โดยกฎหมายยังมีผลตามกำหนดเดิม คือ ต้นปี 2563 แต่ช่วงระยะเวลาที่ผู้เสียภาษีตาม

กฎหมายดังกล่าว ซึ่งปกติจะต้องเริ่มเข้ามาชำระในเดือนเม.ย. ของทุกปี จะต้องถูกเลื่อนระยะเวลาออกไปประมาณ 4 เดือน

เพื่อให้ท้องถิ่นได้มีเวลาในการเตรียมตัวสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินก่อนที่จะแจ้งไปยังผู้ถือครองทรัพย์สินให้มาชำระภาษี”

สำหรับกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งหมด 19 ฉบับนั้น ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดดำเนินการแล้วเสร็จ

โดยในจำนวน 19 ฉบับนั้น เป็นกฎหมายลูกที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลังมีจำนวน 8 ฉบับ ขณะนี้ได้ดำเนินการ

แล้วเสร็จไปจำนวน 8 ฉบับ ยังเหลืออีก 1 ฉบับ ซึ่งยังไม่จำเป็นต้องออกในขณะนี้ เนื่องจากเป็นการกำหนดอัตราการจัดเก็บ

ภาษีดังกล่าว ซึ่งในบทเฉพาะกาลของกฎหมายระบุว่า ให้กระทรวงการคลังพิจารณาอัตราการจัดเก็บในอีก 2 ปีข้างหน้า โดย

ขณะนี้กฎหมายได้กำหนดอัตราการจัดเก็บไว้แล้ว

ส่วนกฎหมายลูกอีก 11 ฉบับนั้น เป็นกฎหมายที่กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบจำนวน 6 ฉบับ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ

จำนวน 2 ฉบับ อีก 4 ฉบับเพิ่งจะผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ส่วนอีก 5 ฉบับ เป็นกฎหมายที่กระทรวงมหาดไทยและ

กระทรวงการคลังจะต้องร่วมกันดูแล โดย 4 ฉบับ กระทรวงการคลังได้ลงนามไปเรียบร้อยแล้ว เหลืออีก 1 ฉบับยังไม่แล้ว

เสร็จ โดยกระทรวงมหาดไทยขอเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนก่อน เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพื้นที่ทางการเกษตร

เขากล่าวด้วยว่า แม้ว่าการจัดเก็บภาษีที่ดินจะถูกเลื่อนออกไปอีก 4 เดือน แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของ

รัฐบาลแต่อย่างใด เพราะการชำระภาษีดังกล่าวยังคงเกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2563 ซึ่งเป็นการชำระเพียง 1 ครั้งต่อปีเท่า

นั้น ทั้งนี้ในปีแรกของการจัดเก็บภาษีประเมินว่า จะมียอดจัดเก็บประมาณ 4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากการเก็บภาษีการโอน

และจดจำนอง ซึ่งเป็นกฎหมายเดิมประมาณ 1 หมื่นล้านบาท

วิชั่นกรุ๊ป